ทำไมองค์กรท็อปของประเทศ พีทีที แอลเอ็นจี และ พีทีที ฟีนอล
ยังคงไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาทุกกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

 

ทำไมองค์กรท็อปของประเทศ พีทีที แอลเอ็นจี และ พีทีที ฟีนอล

ยังคงไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาทุกกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) และกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ฟีนอล (PHN-BU) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สองธุรกิจระดับประเทศ เจ้าของรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ที่มีความโดดเด่นด้านการปฏิบัติการ หรือ TQC Plus Operation 2022 มอบโดยสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ กับปณิธานความมุ่งมั่นที่จะไม่หยุดที่จะพัฒนาองค์กรต่อไป แม้ว่าการเดินทางบนเส้นทางธุรกิจในช่วงวิกฤตที่ผ่านมาจะยากลำบาก ทั้งจากผลกระทบปัจจัยภายนอก รวมถึงความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป  แต่ทั้ง 2 องค์กรยังคงมุ่งเน้นการปรับทุกกระบวนการในองค์รวมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน และมีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล โดยที่ยังคงคำนึงถึงความสมดุลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชนและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน

 

ผู้นำ กับการขับเคลื่อนเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จ

คุณรัตติกูล ปิยะวงงศ์วาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด

“ที่จริงแล้วกรอบรางวัลฯคือแนวทางในการพัฒนา แต่เป้าหมายที่แท้จริงของบริษัท คือ การพัฒนาคนให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง เกณฑ์รางวัลฯทำให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง รู้จุดอ่อนจุดแข็งและนำไปพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ทุกสถานการณ์”

 

คุณสวัสดิ์ ตรงดิลกรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ฟีนอล
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

“การมุ่งมั่น การพัฒนากระบวนการ การทบทวนปรับปรุงกระบวนการอย่างสม่ำเสมอและถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงทั่วทั้งองค์กรอย่างสอดประสานจนเป็น Learning Organization อย่างแท้จริง ทำให้เราสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายในระดับองค์กรที่สำคัญได้ สามารถนำองค์กรไปสู่ความยั่งยืนต่อเนื่องได้ในอนาคต”

 

PTTLNG วางกลยุทธ์พิชิตวิกฤต ที่สร้างสมดุลอย่างยั่งยืน

PTTLNG จัดทำแผนกลยุทธ์โดยมีการรวบรวมข้อมูลธุรกิจ ทั้ง VOC (Voice of Customer), VOS (Voice of Stakeholder) ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก แล้วนำไปวิเคราะห์โดยการใช้ Business Analysis Tools ต่างๆ เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาเป็นข้อมูลป้อนเข้า แล้วนำมากำหนดและจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์และสมรรถนะหลัก รวมถึงกำหนดเป้าหมายให้เหมาะสมต่อสถานการณ์สำคัญในแต่ละปี โดยพิจารณาจากความเร่งด่วน ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมขององค์กร และ ความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท.

กรอบเกณฑ์รางวัลฯทำให้นอกจากต้องคิดถึงกระบวนการทำงานต่างๆแล้ว ยังต้องสร้างสมดุลในทุกภาคส่วน ชุมชน สังคม ให้สามารถเดินไปพร้อมกันได้ และมองภาพเป้าหมายเดียวกัน และจากการสำรวจความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด มีการกำหนดกรอบเพื่อที่จะสร้างความสมดุล ความต้องการ ความคาดหวัง โดยที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง เพราะเราจะอยู่ไม่ได้หากทำงานโดยไม่คำนึงถึงชุมชน อย่างที่ทราบว่าเราเองอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นควบคุมมลพิษพิเศษ ซึ่งจะมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งการที่เรารักษาสมดุลระหว่างชุมชน สังคมแวดล้อมมาได้ตลอด ทำให้การทำงานของเราเป็นไปด้วยดี เป็นไปตามแผน ไม่เกิดการร้องเรียน ไม่เกิดการต่อต้านจากชุมชนและสังคม ซึ่งอีกส่วนหนึ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ คือ การเปลี่ยนผู้ส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ มาเป็นพาร์ทเนอร์ของการทำงานร่วมกัน

 

PHN-BU มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศด้วยพัฒนาการบริหารจัดการองค์กร

อย่างเป็นระบบครอบคลุมทุกมิติ 

PHN-BU ใช้กระบวนการ Product and Process Innovation Design โดยมีคณะทำงาน R&D Product & Process Development นำเทคโนโลยีใหม่ที่ทันสมัย ความรู้องค์กร ความคล่องตัวที่จำเป็นในอนาคต เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และบริการขององค์กร มีการกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์และตัวชี้วัดในกระบวนการหลักและกระบวนการสนับสนุน เพื่อควบคุมและปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทำให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานประจำวันเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ  นอกจากนี้ยังพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่ Kimura & CPI การบริหารงานการจัดการห่วงโซ่อุปทาน SCM Pillar กำหนด Specification ของผู้ส่งมอบและพันธมิตร และยังมีการร่วมมือกันผ่าน Collaborative Improvement เพื่อพัฒนาการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ยกระดับผลการดำเนินงานและส่งผลในการเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจให้กับลูกค้า

 เรายังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานการจัดการองค์กรให้ทัดเทียมกับมาตรฐานในระดับสากล เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และการบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม โดยใช้ค่าเทียบเคียงจากอุตสาหกรรมเดียวกันในระดับสากล แล้วก็ค่า Benchmarking ในระดับโลก ทั้งในระดับของ 1st Quartile แล้วก็ 1st Decile ในทุก ๆ ตัวชี้วัดที่สำคัญในระดับองค์กร

 

 


เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award หรือ TQA)

The 21st TQA Winner Conference:

Achieving Performance Excellence for Corporate Sustainability

18-19 พฤษภาคม 2566 

สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาแห่งปีที่รวบรวมสุดยอด Practices และ เทรนด์การบริหารจัดการในทุกมิติ

จาก องค์กรผู้คว้ารางวัลระดับ World Class คลิก

ค้นหาหลักสูตรอบรบใน TQA Training Program 2023 คลิก