ฝ่าวิกฤติ Disruption กระทบภาคบริการ ธนาคารไทยพร้อมรับมือหรือยัง?

เคล็ดลับความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินการและบริการของ ธ.ก.ส.

ผู้นำกำหนด AGENDA การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารงาน/การดำเนินธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการให้บริการลูกค้าอย่างชัดเจน โดยการถ่ายทอด ผ่านยุทธศาสตร์และกำหนดเป็นเป้าหมายขององค์กร  ตลอดจนการวางแผนงาน โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้วยดิจิทัลและข้อมูล รวมทั้งการกำหนดผลลัพธ์ ขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการชุดที่เกี่ยวข้องกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนด้านเทคโนโลยี และบุคลากรที่เพียงพอทั้งด้านอัตรากำลังและขีดความสามารถต่อการเปลี่ยนปรับองค์กรสู่ดิจิทัล

 

กลยุทธ์ที่ธนาคารใช้ในยุคที่มีความท้าทายรอบด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี

🟢 มีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี

เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจรและทันสมัย ตลอดจนใช้ประโยชน์จากข้อมูลลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในการบริหารจัดการสินทรัพย์และพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้า รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน

🟢 เพิ่มขีดความสามารถองค์กรและบุคลากร

รองรับการแข่งขัน และยกระดับการทำงานให้สอดรับกับทิศทางในอนาคตของธนาคาร  รวมถึงส่งเสริมการสร้างความตระหนักในการดำเนินงานตามแนวทาง GRC

🟢 พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม

ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธนาคารและลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์และความเพียงพอของเงินกองทุน บริหารจัดการรายได้และต้นทุนเงิน รวมถึงการแสวงหาพัฒนาธุรกิจใหม่หรือร่วมลงทุนกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตรร่วมกับเครือข่าย เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ

🟢 สนับสนุนการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้ เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของคนชนบทให้ดีขึ้น พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันตามศักยภาพของลูกค้าและครัวเรือนเกษตรกรภายใต้กรอบแนวคิด ESG และ BCG

 

แนวทางการปรับตัวกับความท้าทายเพื่อให้องค์กรสามารถรับมือได้ ธ.ก.ส.

มีกลยุทธ์ในการปรับตัวจัดการกับความท้าทายขององค์กร เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การเป็น “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” โดยมีเป้าหมายสู่การเป็น Essence of Agriculture” หรือ “แกนกลางการเกษตร” ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้

🟢 Funding : สนับสนุนเงินทุนเพื่อการเกษตร

โดยการออกแบบเงินทุนเพื่อภาคการเกษตร จากการนำฐานข้อมูลที่ธนาคารมี มาวิเคราะห์และวางแผนสร้างผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนต่ำ และใช้เทคโนโลยีเพื่อการให้บริการที่เข้าถึง ง่าย สะดวกและครบวงจรมากยิ่งขึ้น

🟢 Technology : ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี

โดยการส่งเสริมความรู้ด้านเทคโนโลยี และการทำเกษตรแบบใหม่ให้แก่เกษตรกร ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยง ให้เกษตรกรยังมีรายได้ แม้เกิดเหตุไม่คาดฝัน

🟢 Knowledge & Marketing : พัฒนาตลาดและองค์ความรู้

โดยการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่าย ทั้งการตลาดแบบ Digital และการกระจายสินค้าเกษตร โดย ธ.ก.ส. เป็นตัวกลางเชื่อมต่อเพื่อเปิดช่องทางใหม่ๆ ทั้งภายในประเทศหรือต่างประเทศ

🟢 Value Added : ยกระดับผลิตภัณฑ์

โดยทำให้ผลิตภัณฑ์และสินค้าของเกษตรกรที่มีอยู่มีมูลค่าสูงขึ้น ให้สินค้าเกษตรไม่ใช่แค่เพียงสินค้าอุปโภค บริโภค แต่เป็นสินค้าที่ตอบสนอง Life Style และความต้องการด้านอื่นๆ ของผู้บริโภคด้วย

 

📌 เผยเหตุผลสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

      ผู้นำมีนโยบายการยกระดับองค์กรสู่ HPO โดยการประยุกต์ใช้เกณฑ์ TQA ในการบริหารจัดการองค์กร รวมถึงสื่อสารสร้างความเข้าใจไปยังบุคลากรทั่วทั้งองค์กรให้เห็นถึงความสำคัญ และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ มีการขับเคลื่อนองค์กรตามแนวทาง  TQA ด้วยตนเองผ่านคณะกรรมการบริหารจัดการสู่องค์กรประสิทธิภาพสูง และกำหนดโครงสร้างองค์กรให้มีส่วนงานที่ดูแลรับผิดชอบงาน TQA โดยเฉพาะ ในการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานตามกรอบแนวทางเกณฑ์ TQA ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกระดับและความเข้าใจในเกณฑ์ TQA เป็นอย่างดีในการใช้เป็นกรอบแนวทางสำหรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนา/ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการและยกระดับผลการดำเนินงานขององค์กรสู่ความเป็นเลิศ

ที่มา: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) องค์กรผู้ได้รับรางวัล TQC Plus Societal Contribution 2566 / ข้อมูล ESG จากสมาคมธนาคารไทย

เรียนรู้เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 👉 คลิก

——————————–

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award หรือ TQA) 👉 คลิก

ค้นหาหลักสูตร In-house Training : Excellence Framework 👉 คลิก