Digital Transformation: ไปต่อยุคดิจิทัล ในฉบับสถาบันการเงิน

เทคนิคสำคัญที่ช่วยในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร

บสย. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ผ่านการประสมประสานวิธีคิดเชิงกลยุทธ์และการยกระดับวัฒนธรรมองค์กรในการผลักดันนวัตกรรม โดยมีเทคนิคเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังนี้

1. Segmentation & Life Cycle Analysis

เทคนิคการวิเคราะห์เสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าของ บสย.  เพื่อบ่งชี้ให้ทราบถึงปัญหา หรือ Pain Point ในการดำเนินงานขององค์กรที่มาพร้อมกับข้อมูลการดำเนินงานเทียบเคียงระหว่างองค์กรในช่วงเวลาต่างๆ

2. Digital Technology Deployment

ที่ผสานรวมเข้ากับประสบการณ์ที่สั่งสมขององค์กรและแนวโน้มในอนาคตของโลกและกลุ่มผู้บริโภค ดังเช่น “Line TCG First” Platform ที่พัฒนาเพื่อก่อให้บริการแบบครบวงจร (One Stop Service) และสร้างมูลค่าเพิ่มใหม่ให้กับองค์กรและกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาหรือสถานที่

3. Employee Experience Model

ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่องและอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุล พร้อมทั้งการส่งเสริมทัศนคติการเรียนรู้ตลอดชีวิตอันนำไปสู่การสร้างแนวคิดและแนวทางใหม่ๆ ในการทำงานได้อย่างสอดรับกับบริบทการเปลี่ยนแปลง

4. Strategic Partnership Creation

เป็นการสร้างโอกาสขยายความร่วมมือกับหน่วยงานหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอก เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และวิธีการดำเนินงานรวมถึงการประยุกต์ปรับใช้เทคโนโลยีด้วยมุมมองใหม่ ภายใต้โครงการนำร่อง (Sandbox) ที่ดำเนินการร่วมกัน เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนร่วมกันและของ SMEs ไทย

5. Applying Excellence Framework 

การพัฒนามิติการดำเนินงานขององค์กรอย่างเป็นระบบและบูรณการ เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานความเป็นเลิศ ข้อสังเกตและการเรียนรู้ระดับองค์กร เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและก้าวผ่านบริบทความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิผล

 

ทักษะสำคัญที่คน บสย. ต้องมี
เพื่อผลักดันธุรกิจและเท่าทันกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

บสย. ได้มุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะองค์กรในทุกระดับและทุกกระบวนการสำคัญให้พร้อมต่อความท้าทายในยุค Digital Transformation โดยกำหนดชุดทักษะที่สำคัญ ดังนี้

1. Digital Capability; AI & Automation and Data Analytics

ชุดทักษะความสามารถด้านดิจิทัลที่สอดรับกับ Business Model ใหม่ของ บสย. ต่อเนื่องจากการสร้างความยอมรับของบุคลากรที่มีต่อ Future Skill ที่สนับสนุนด้วยโปรแกรมการเรียนรู้ Upskill Reskill ที่สอดคล้องต่อบริบทและความเสี่ยงทางเทคโนโลยี

2. Customer Insight Analytics

หรือการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึกหรือเฉพาะกลุ่ม ที่ได้นำมาประยุกต์ปรับใช้ทั้งในด้านการตลาดและการวิเคราะห์การค้ำประกันสินเชื่อ (Credit Guarantee Analysis) ทั้งในระดับองค์กรและการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรได้อย่างที่มีประสิทธิภาพผ่าน Online Platform

3. Digital Communication

ทักษะการสื่อสารและรับฟังสมัยใหม่ที่ประสมประสานสื่อในทุกช่องทาง (Hybrid Communication) เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มผู้มุ่งหวังและตอบสนองในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่ง บสย. ได้นำมาประยุกต์ใช้ทั่วทั้งองค์กรโดยเฉพาะในการจัดการองค์ความรู้และการให้คำปรึกษาทางการเงิน

 

ความท้าทายจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร
และมีกลยุทธ์ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

1. Digital Disruption

แนวโน้มการพัฒนาที่ท้าทายและส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งนี้ บสย. ได้ยกระดับการดำเนินงานผ่านกลยุทธ์ Digital Platform & Financial Gateway เพื่อให้ SMEs เข้าถึงสินเชื่อด้วยผลิตภัณฑ์ค้ำประกันฯ และบริการของ บสย. ผ่าน Platform Online และในอนาคตด้วย Digital Gateway ที่รวดเร็ว เบ็ดเสร็จ และครบวงจร

2. แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างจำกัด

โดย บสย. ได้วางแผนและดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันฯ และบริการช่วยเหลือ SMEs อย่างครอบคลุมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ของผู้ประกอบการ ตลอดจนสอดรับกับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและแนวทางลดการพึ่งพาภาครัฐของ บสย.

3. ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของภาคธุรกิจตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ บสย. ได้นำแนวคิดดังกล่าวตลอดจนเกณฑ์รางวัลคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับระดับสากลมาประยุกต์ปรับใช้ครอบคลุมนับแต่ผลิตภัณฑ์และบริการของ บสย. รวมถึงกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งติดตามอย่างใกล้ชิด

 


เหตุผลสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

1. การนำองค์กร:

ผู้นำระดับสูงขับเคลื่อนองค์กรเพื่อสร้างโอกาสที่ดียิ่งขึ้นให้กับ บสย. ด้วยวิสัยทัศน์และการเป็นแบบอย่างที่ดี ผ่านการเชื่อมโยงเกณฑ์คุณภาพต่างๆ โดยเฉพาะเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติและแนวทางความยั่งยืนในทุกมิติอย่างบูรณการ ตลอดจนการดำเนินงานอย่างการเป็นพลเมืองที่ดีและมีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับสังคมไทย

 

2. ความร่วมแรงร่วมใจของบุคลากร:

ชาว บสย. มีความพร้อมและเปิดรับต่อวงจรการพัฒนาและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลักยึดค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร TCG Fast & First และด้วยเป้าหมายเดียวกัน เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือดีกว่าคู่เทียบ พร้อมก้าวสู่ความเป็นเลิศมากยิ่งขึ้น

 

3. การเรียนรู้และพัฒนาผ่านการประเมินคุณภาพ:

 

หนึ่งในปัจจัยสำคัญประกอบการพัฒนาด้วยหลัก Deming Cycle และการจัดการองค์ความรู้ของ บสย. ซึ่งสอดรับกับทัศนคติการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อนำไปสู่แนวทางการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นเลิศ

ที่มา: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม องค์กรผู้ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ TQC ประจำปี 2566

เรียนรู้เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 👉 คลิก

——————————–

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award หรือ TQA) 👉 คลิก

ค้นหาหลักสูตร In-house Training : Excellence Framework 👉 คลิก