Workforce Diversity แนวทางรับมือความหลากหลายของบุคลากร

ความสำเร็จที่โดดเด่นขององค์กรในช่วงที่ผ่านมา

ความเป็นผู้นำด้านการวิจัยโรคเขตร้อนระดับโลก คณะฯ เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการวิจัยโรคเขตร้อน มีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพสูง โดยผลงานเกือบร้อยละ 80 ตีพิมพ์ในวารสารระดับ Top 25% (Q1) ผลงานกว่าร้อยละ 10 ตีพิมพ์ในวารสารระดับ Top 10% โดยใน 5 ปีที่ผ่านมา มีผลงานจำนวน 76 บทความได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับ Top 1% ของโลก และมี ค่าดัชนี Field-weighted Citation Index (FWCI) ของบทความวิชาการในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของวารสารด้านโรคเขตร้อนทั่วโลกมากกว่า 4 เท่า ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยและการเรียนการสอนโรคเขตร้อน คณะฯมีเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกับองค์กรต่างประเทศอย่างยาวนาน และได้รับการแต่งตั้งโดยองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Center ในด้านโรคมาลาเรีย และบุคลากรด้านงานวิจัยที่เป็นเลิศ คณะฯมีบุคลากรที่มีความโดดเด่นด้านงานวิจัยจำนวนมาก มีนักวิจัยของคณะฯและนักวิจัยต่างชาติที่ทำงานภายใต้องค์กรความร่วมมือของคณะฯ ที่มีผลงานตีพิมพ์และได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดในระดับ Top 2% ของโลก ที่จัดอันดับโดย Stanford University จำนวน 17 ท่าน

 

การสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร เคล็ดลับและการจัดการเพื่อรับมือความหลากหลาย (diversity) ของบุคลากร

 

บุคลากรขององค์กร มีความหลากหลายไม่แต่เฉพาะด้านความเชี่ยวชาญ วิชาชีพ อายุ หากยังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ พฤติกรรม องค์กรได้มีวัฒนธรรมองค์กร Tr-Op-M-E-D ของชาวเขตร้อน มีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมให้คณะฯ มีความเป็นนานาชาติและประสบความสำเร็จในปัจจุบัน

 

 

🟡 Tr – Transformation: ปรับเปลี่ยนเพื่อสรรค์สร้าง บุคลากรและองค์กรพร้อมที่จะปรับตัว ด้านสมรรถนะของบุคลากร กระบวนการทำงาน การสร้างงานวิจัย

🟡 Op – Open and globally connected: เปิดกว้างสู่สากล

🟡 M – Multidisciplinary: ระคนหลากวิชา

🟡 E – Embracing Creativity and Entrepreneurship: เพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ใหม่

🟡 D – Data-Driven Decision: ตัดสินใจด้วยข้อมูล

นอกจากการใช้วัฒนธรรมองค์กร รับมือกับความหลากหลายของบุคลากรแล้ว คณะฯ ยังมีการสำรวจความต้องการและความคาดหวังของบุคลากร โดยวิเคราะห์จำแนกตามกลุ่มที่เป็นความหลากหลายที่สำคัญ และบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความพึงพอใจและสร้างความผูกพันตามผลลัพธ์จากการสำรวจ

 

เคล็ดลับในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ

คณะเวชศาสตร์เขตร้อนเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีค่านิยมองค์กร M-A-H-I-D-O-L ตามองค์กรแม่ และยังได้มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของคณะฯเอง คือ Tr-Op-M-E-D ซึ่งได้ตกผลึกมาจากกระบวนการที่บุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วมและแสดงถึงความเป็นชาวเขตร้อน ‘ปรับเปลี่ยนเพื่อสรรค์สร้าง เปิดกว้างสู่สากล ระคนหลากวิชา เพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ใหม่ ตัดสินใจด้วยข้อมูล

คณะฯ มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและสื่อสารถึงบุคลากรในทุกระดับ และมีผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์และเป็นตัวอย่างของคณะอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัย มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ สร้างความเชื่อมั่น และภาคภูมิใจให้กับบุคลากรทุกคนที่เป็นบุคลากรของคณะฯ เป็นปัจจัยเสริมให้บุคลากรทุกคนตั้งใจ และมีส่วนร่วมในความสำเร็จ ทั้งบุคลากรเดิมและบุคลากรใหม่

 

ความท้าทายจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร และกลยุทธ์ในการปรับตัวกับความท้าทายเพื่อให้องค์กรสามารถรับมือได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

คณะฯ มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำระดับโลกด้านเวชศาสตร์เขตร้อน ทั้งในมิติของการวิจัย การเรียนการสอน และการให้บริการ ความท้าทายจากปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลกระทบคือ

1️⃣ Climate Change: ภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศแปรปรวน ระบาดวิทยาของโรคเขตร้อนมีการเปลี่ยนแปลง โรคบางโรคอาจหมดไป และมีโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำเกิดชึ้น

2️⃣ Aging Society and VUCA World: จำนวนและโครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปสู่สังคมผู้สูงอายุ ความผันผวนในพฤติกรรมการเรียนรู้ กระบวนการการเรียนรู้ ความต้องการของทักษะ และความรู้ ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน เทคโนโลยีที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและมีความคลุมเครือ

3️⃣ SDGs: การมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจรวมถึงมีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

4️⃣ Disruptive Technology: การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

กลยุทธ์ในการปรับตัว

 

1️⃣ เสริมระบบบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม เตรียมความพร้อมในการนำ know-how ขององค์ความรู้โรคเขตร้อน ไปปรับใช้กับโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น

2️⃣ พัฒนาหลักสูตรทั้ง Degree และ Non-Degree program แบบยืดหยุ่น

3️⃣ ออกแบบระบบการทำงานและโจทย์งานวิจัย ให้สอดคล้องกับ SDGs

4️⃣ Digital Transformation ขององค์กร และพัฒนา Digital & IT Literacy ของบุคลากร

 

📌เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติคือ

องค์กรมีระบบการนำองค์กรที่เข้มแข็งและมีการสืบทอดอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งเป้าไปในทิศทางที่ชัดเจนและต่อเนื่อง มีผลการดำเนินงานที่เป็นเป้าหมายหลักดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีระบบการทำงานของพันธกิจหลักโดยเฉพาะงานวิจัย สภาพแวดล้อมขององค์กร เครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศ ที่เข้มแข็งและบูรณาการ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่นๆ บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการมุ่งเป้าสู่วิสัยทัศน์ขององค์กรร่วมกัน

ที่มา: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล องค์กรผู้ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ TQC ประจำปี 2566

เรียนรู้เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล 👉 คลิก

——————————–

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award หรือ TQA) 👉 คลิก

ค้นหาหลักสูตร In-house Training : Excellence Framework 👉 คลิก