ผู้นำแบบไหน? ที่สร้างความสำเร็จให้ทีมได้จริง🤔

ที่มา: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร องค์กรที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ประจำปี 2567

 

🎯 ธ.ก.ส. เผยเคล็ดลับความสำเร็จของการดำเนินงานจนนำพาองค์กรได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ คือ ผู้นำระดับสูงนำองค์กรให้บรรลุความสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งใช้แนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) อย่างเป็นธรรมชาติ โดยการ Doing by Operation ผ่านระบบการนำองค์กร “AGRI-CULTURE” ซึ่งคำว่า A-G-R-I หมายถึง การเกษตร สะท้อนถึงบทบาทขององค์กรในการดูแลภาคการเกษตร ประกอบด้วย

Achievement Strategic Planning
การวางแผนกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ และกำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวที่ท้าทายขององค์กร

Good Communication
การสื่อสารที่ยอดเยี่ยม ทั้งรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความผูกพันที่ดีและรับฟังมีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทุกภาคส่วนอย่างสมดุล

Role Model & Monitoring
การเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และการกำกับติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการใช้ Dashboard อย่างเป็นระบบในการบริหารและสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารที่แม่นยำ พร้อมนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องภายใต้แนวคิด “ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ”

Inspire Team and Reward
ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจทีมงานให้เห็นคุณค่าของงานและสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการยกย่องชมเชย

อีกทั้งได้บูรณาการร่วมกับ CULTURE องค์กร “SPARK” ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ทำให้ Style การบริหารงานตาม A-G-R-I เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ สู่การเป็น “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน”

 

👤 “ผู้นำขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ” ในมุมมอง ธ.ก.ส. ต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้

Resilience  ปรับตัวได้ไวและนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวข้ามความท้าทายและก้าวทันโลกที่เปลี่ยน

Attitude  มุ่งมั่นทำงานให้เต็มที่ มีการวางแผนที่ดี มีการตัดสินใจที่ดี และสร้างแรงบันดาลใจทีมงานขับเคลื่อนงานสู่ความสำเร็จ

Growth Mindset  เปิดกว้างรับฟัง เรียนรู้และคิดสิ่งใหม่ “ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ”

Creativity  สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์  เพื่อเปลี่ยนแปลง พัฒนา ต่อยอด และแบ่งปันการเรียนรู้ นำสู่วงจรแห่งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสร้างนวัตกรรมองค์กร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทำให้องค์กรประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

ปัจจุบัน ธ.ก.ส กำลัง Transform กระบวนการทำงานต่างๆ เป็น Digital และให้ Modern มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่ไม่ถึงกับเป็น Fully Digital เนื่องจาก ธ.ก.ส. ยังมีลูกค้าที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง ด้วยการปรับกระบวนการให้บริการโดยใช้ Technology หลากหลายบริการ อาทิ บริการธุรกรรมทางการเงินบน BAAC Mobile บริการสินเชื่อในรูปแบบ Digital Lending ระบบลงทะเบียนพักชำระหนี้บน BAAC Mobile สลากดิจิทัล ในขณะเดียวกันก็มีภัยคุกคามจากภายนอกเข้ามา ซึ่งกระทบต่อ Balance Sheet และการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกอย่างรวดเร็ว อาทิ รายได้เงินสดของภาคครัวเรือนลดลง กระทบต่อการชำหนี้ ถัดมาคือเรื่องนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ ธ.ก.ส. ได้รับมอบหมาย ซึ่ง ธ.ก.ส. จะต้องปรับตัวด้วยการใช้ประโยชน์ในเรื่อง Resilience จึงนำมาปรับกลยุทธ์ในเรื่องการ Diversify Port เพื่อขยายการหารายได้ใหม่ทางการเงินไปยังนอกภาคการเกษตร และสร้างธุรกิจใหม่ในการเป็นศูนย์การซื้อขาย Carbon Credit ซึ่งถือเป็น Social Innovation ที่ช่วยส่งเสริมให้คนในชนบทมี Passive Income จากการเปลี่ยนอากาศให้เป็นเงินโดยการขาย Carbon Credit อีกทั้งส่งเสริมการปรับพนักงานให้มี Attitude มี Growth Mindset ที่ดี ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเปลี่ยนแปลง พัฒนา ต่อยอด และแบ่งปันการเรียนรู้ Best Practice จนเกิดการปรับกระบวนการทำงาน

 

♟️นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และเป้าหมายการพัฒนาลูกค้าและชุมชนให้ยั่งยืน โดยมุ่งสู่การเป็น “แกนกลางการเกษตร (Essence of Agriculture)” ผ่าน 4 แนวทางสำคัญ ได้แก่

1️⃣ สนับสนุนเงินทุนเพื่อการเกษตร (Funding)

2️⃣ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี (Technology)

3️⃣ พัฒนาตลาดและองค์ความรู้ (Knowledge and Marketing)

4️⃣ ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ (Value Added) เพื่อสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน”

 

📌 ธ.ก.ส. เป็นมากกว่าธนาคาร เพราะไม่ใช่เพียงการให้บริการทางการเงินที่ครบวงจรในภาคชนบท แต่ ธ.ก.ส. มุ่งสู่การเป็นแกนกลางการเกษตร “Essence of Agriculture” ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร ภายใต้วิสัยทัศน์ “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นการบรรลุผลสำเร็จใน 2 มิติ ดังนี้

มิติธนาคารยั่งยืนมี Balance sheet ที่แข็งแรง และบุคลากรที่เข้มแข็งมี Attitude ที่ดี มี Growth Mindset  มี Creativity และ Best Practice เพื่อเปลี่ยนแปลง พัฒนา ต่อยอด และแบ่งปันการเรียนรู้จนเกิดการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง

มิติชนบทที่ยั่งยืน :  การเพิ่มรายได้และลดต้นทุนภาคการผลิตของเกษตรกร คู่ขนานกับการพัฒนาศักยภาพชุมชนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืนภายใต้ BCG Model และตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ใน 5 เป้าหมาย คือ SDG 1 ขจัดความยากจน  SDG 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน SDG 10 ลดความเหลื่อมล้ำ SDG 13 การรับมือกับ Climate Change และ SDG 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจของธนาคารอย่างยั่งยืน

 


——————————–

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award หรือ TQA) 👉 คลิก

 

Thailand Quality Award Winner Conference & International Quality Innovation Award Ceremony 2024
สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาแห่งปีที่รวมองค์ความรู้การบริหารจัดการองค์กรชั้นนำในไทยและต่างประเทศไว้ที่เดียว 👉 คลิก