ระบบการให้คะแนนการให้คะแนนตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ขึ้นอยู่กับการประเมินใน 2 มิติ:
การให้คะแนนคำตอบในแต่ละหัวข้อ, ให้พิจารณาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคำถามของหัวข้อนั้นและแนวทางการให้คะแนน.
มิติการให้คะแนนกระบวนการ“กระบวนการ” หมายถึง วิธีการที่องค์กรใช้และปรับปรุง. เพื่อตอบคำถามต่าง ๆ ในหมวด 1-6. ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ประเมินกระบวนการ ประกอบด้วย แนวทาง (Approach–A), การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Deployment–D), การเรียนรู้ (Learning–L), และการบูรณาการ (Integration–I) (ADLI). รายงานป้อนกลับของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สะท้อนถึงจุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงในปัจจัยเหล่านี้. คะแนนสำหรับหมวดกระบวนการเป็นการประเมินภาพรวมของผลการดำเนินการโดยรวม, ซึ่งพิจารณาปัจจัยกระบวนการทั้ง 4 ดังนี้ แนวทาง (Approach–A) หมายถึง
แนวทาง (Approach–A) หมายถึง
ระดับของการที่แนวทางนั้นนำไปใช้ซํ้าได้ และอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและสารสนเทศที่เชื่อถือได้ (ซึ่งหมายถึง การดำเนินการอย่างเป็นระบบ). การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ (Deployment–D) หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของ
การเรียนรู้ (Learning-L) หมายถึง
การแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการปรับปรุงแนวทางให้ดีขึ้นและนวัตกรรมกับหน่วยงานและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร. การบูรณาการ (Integration-I) หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึง ของ
ในการให้คะแนนหมวดกระบวนการ, ให้คำนึงว่าแนวทาง, การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ, การเรียนรู้, และการบูรณาการ มีความเชื่อมโยงกัน. คำอธิบายถึงแนวทางควรต้องบ่งชี้เรื่องการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเสมอ – โดยให้สอดคล้องกับคำถามของหัวข้อนั้นและองค์กรของตน. เมื่อกระบวนการพัฒนาสมบูรณ์ขึ้น, คำอธิบายควรต้องแสดงถึงวงจรการเรียนรู้ (รวมถึงนวัตกรรม), รวมทั้งการบูรณาการกับกระบวนการและหน่วยงานอื่น ผลลัพธ์“ผลลัพธ์” หมายถึง ผลผลิตและผลสัมฤทธิ์ขององค์กรที่บรรลุผลตามคำถามในหมวด 7. ปัจจัยทั้ง 4 ที่ใช้ในการประเมินผลลัพธ์ ได้แก่ ระดับ (Level-L), แนวโน้ม (Trend-T), การเปรียบเทียบ (Comparison-C), และการบูรณาการ (Integration-I) (LeTCI). คะแนนของหมวดผลลัพธ์เป็นการประเมินภาพรวมของผลการดำเนินการโดยรวม, ซึ่งพิจารณาปัจจัยผลลัพธ์ทั้ง 4. ระดับ (Level-Le) หมายถึง ผลการดำเนินการในปัจจุบันของตัววัดด้วยมาตรวัดที่มีความหมาย. แนวโน้ม (Trend-T) หมายถึง อัตราของการปรับปรุงผลการดำเนินการ หรือความต่อเนื่องของผลการดำเนินการที่ดีในประเด็นที่สำคัญ (ความลาดชันของชุดข้อมูลเมื่อเวลาผ่านไป). การเปรียบเทียบ (Comparison-C) หมายถึง ผลการดำเนินการขององค์กรเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นที่เหมาะสม เช่น คู่แข่ง หรือองค์กรที่คล้ายคลึงกัน หรือระดับเทียบเคียง การบูรณาการ (Integration-I) หมายถึง ความครอบคลุมและทั่วถึงของตัววัดผลลัพธ์ต่าง ๆ (มักมีการจำแนกประเภท) ที่ระบุถึงผลการดำเนินการที่สำคัญด้านลูกค้า, บุคลากร, ผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการ, ตลาด, กระบวนการ, แผนปฏิบัติการ, และเป้าประสงค์ระดับองค์กร ตามที่ปรากฏอยู่ในโครงร่างองค์กร และและในหมวดกระบวนการ. หมายเหตุ : โดยทั่วไป เป้าหมายจะไม่ถูกนำมาพิจารณาในการประเมินผลลัพธ์ เนื่องจากวิธีการกำหนดเป้าหมายไม่ชัดเจนเสมอไป. ในการให้คะแนนหมวดผลลัพธ์, ให้พิจารณาข้อมูลระดับผลการดำเนินการ, แนวโน้ม, และตัวเปรียบเทียบที่เหมาะสมของตัววัดและตัวชี้วัดที่สำคัญขององค์กร รวมทั้งการบูรณาการกับข้อกำหนดที่สำคัญขององค์กร. หมวดผลลัพธ์ควรต้องแสดงข้อมูลความครอบคลุมของผลลัพธ์การดำเนินการตามที่รายงาน. ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติและการเรียนรู้ขององค์กร; ถ้ากระบวนการปรับปรุงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวาง, องค์กรควต้องรมีผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันด้วย. “ความสำคัญ” ในการพิจารณาคะแนน (“Importance” as a Scoring Consideration)ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการประเมินและให้ข้อมูลป้อนกลับ คือ “ความสำคัญ” ของกระบวนการและผลลัพธ์ต่อปัจจัยสำคัญทางธุรกิจ. องค์กรควรต้องระบุเรื่องที่สำคัญที่สุดไว้ในโครงร่างองค์กร และในหัวข้อต่าง ๆ เช่น หัวข้อ 2.1, 2.2, 3.2, 5.1, 5.2 และ 6.1. โดยเฉพาะเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง – ความต้องการที่สำคัญของลูกค้า, สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขัน, ความต้องการของบุคลากร, วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ, และแผนปฏิบัติการ. |