กระบวนการคัดเลือกผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติเริ่มต้นจากผู้สนใจส่งใบสมัครพร้อมแนบเอกสารประกอบอย่างครบถ้วนภายในเวลากำหนด คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัคร มีดังนี้
- อายุ 35 ปีขึ้นไป วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป
- มีประสบการณ์ทำงานโดยรวม 8 ปีขึ้นไป และอยู่ในระดับบริหาร 5 ปีขึ้นไป
- มีทักษะการสื่อสารทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และการพิมพ์ข้อมูล
- ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร TQA Internal Organization Assessment (IOA) ประจำปี 2567 หรือ 2568 (รุ่นที่ 1-2) และได้รับใบรับรองตามเงื่อนไขที่กำหนด สมัครอบรมหลักสูตร TQA Internal Organization Assessment (IOA) คลิกที่นี่
- มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ หากมีประสบการณ์ในการร่วมจัดทำกลยุทธ์ขององค์กร จะช่วยให้ท่านมีมุมมองที่กว้าง และเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
จากนั้นต้องผ่านการฝึกอบรม หลักสูตร New TQA Assessor Training 2025 (7 วัน) ตลอดการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว จะมีกระบวนการสรรหาคัดเลือกผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
ความรู้ความเข้าใจเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
ปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณาคัดเลือกผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ คือ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในเกณฑ์ทั้ง 7 หมวด รวมถึงตำแหน่งอาชีพในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ความเข้าใจในหัวข้อ การมุ่งเน้นบุคลากร (หมวด 5) อันมาจากประสบการณ์ที่เคยอบรมพนักงาน ความเข้าใจในการจัดการกระบวนการ (หมวด 6) ที่เกิดจากการนำกระบวนการผลิตที่สำคัญมาใช้ หรือความเชี่ยวชาญด้านการตลาดที่ส่งเสริมความเข้าใจในเรื่อง การมุ่งเน้นลูกค้า (หมวด 3)
ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญพิเศษ
การพิจารณายังคำนึงถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะมาจาก ภาคอุตสาหกรรม บริการ สาธารณสุข การศึกษา หรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร บางกรณีจะพิจารณาจากทักษะความสามารถในด้านที่ขาดแคลน หรือสาขาเฉพาะทาง อันจะสนับสนุนกระบวนการตรวจประเมิน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ในการมอบหมายองค์กรเพื่อตรวจประเมินจะพิจารณาจากข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับผู้ตรวจประเมิน และ/หรือ องค์กรที่ผู้ตรวจประเมินทำงานทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ความรู้ ทักษะ และความสามารถทั่วไปของผู้ตรวจประเมิน
ความรู้ ทักษะ และความสามารถ ที่ส่งเสริมต่อการเป็นผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้แก่
- ประสบการณ์การนำองค์กรที่ประสบความสำเร็จ
- ความรู้ในด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เช่น การบริการลูกค้า ทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการ
กระบวนการ - ทักษะในการใช้แนวคิดเชิงสถิติและการประเมินผลลัพธ์ทางการเงิน
- ความสามารถเชิงวิเคราะห์
- ทักษะในการใช้แนวคิดเชิงสถิติและการประเมินผลลัพธ์ทางการเงิน
- ทักษะในการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งการพูดและการเขียน
- ทักษะในการทำงานเป็นทีม การแสดงออกที่เหมาะสม รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
- ทักษะในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต และระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของรางวัลอันทรงเกียรติ
หมายเหตุ
- การพิจารณาคัดเลือกจะพิจารณาจากคุณสมบัติของแต่ละบุคคลไม่ใช่องค์กรหรือผู้บริหารที่ผู้สมัครทำงาน
- สำนักงานจะมีจดหมายแจ้งผู้ผ่านการคัดเลือกโดยตรง