การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในรอบปี 2567–2568

  • คำถาม “อะไร” (What) บางคำถามถูกย้ายมายังโครงร่างองค์กร; ตัวอย่างเช่น แนวคิดเรื่องโอกาสเชิงกลยุทธ์ถูกย้ายมาเพราะสอดรับกับ
    ความท้าทายเชิงกลยุทธ์, และโอกาสเชิงกลยุทธ์มีนัยยะสำคัญในเกณฑ์หลายหมวด. ในกรณีอื่น ๆ คำถาม “อะไร” (What) ยังคงไว้ในหมวดที่มีผลกระทบมากที่สุด.
  • 1ก(3) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร ถูกปรับให้ง่ายขึ้นเพื่อความชัดเจน. นอกจากนี้, ข้อกำหนดด้านการศึกษาของบุคลากร ได้ถูกถอดออกจากคำถามของเกณฑ์เนื่องจากมีข้อมูลป้อนกลับว่าไม่ได้ใช้ข้อมูลนี้ในการตรวจประเมิน.
  • เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบธุรกิจ (business model) ขององค์กรได้ดีขึ้น จึงได้เพิ่มคำถาม 1ก (1; ร้อยละของรายได้รวม) และ 2ก (1; สิ่งที่สร้างความแตกต่าง).

การปรับเปลี่ยนเกณฑ์หมวดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้

หมวด 1 การนำองค์กร (Leadership)

  • 1.1ก. พันธกิจ เป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งผู้นำระดับสูงต้องรับผิดชอบในการกำหนดและถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ. ในทำนองเดียวกัน, 1.1ค.(1) ความปลอดภัย และความหลากหลาย ถูกเพิ่มเป็นความรับผิดชอบของผู้นำระดับสูงในการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ.
  • คำถามเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการ (board) ในการประเมินผลการดำเนินการขององค์กรถูกย้ายจาก 4.1ข. ไปอยู่ 1.2ก.(3) เพื่อรวมกลุ่มคำถามเกี่ยวกับคณะกรรมการกำกับดูแลเข้าไว้ด้วยกัน.

หมวด 2 กลยุทธ์ (Strategy)

  • 2.1ก(2) รายการข้อพิจารณากลยุทธ์ถูกปรับเปลี่ยนใหม่เพื่อเน้นองค์ประกอบและความเสี่ยงที่สำคัญ.
  • คำว่า “ระบบงาน” ถูกถอดออกจากหัวเรื่องของประเด็นพิจารณา, ซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็น การดำเนินการโดยแหล่งภายนอกและสมรรถนะหลักขององค์กร (outsourcing and core competencies).  แนวคิดสำคัญของ “ระบบงาน” ยังคงปรากฏอยู่ในข้อ 2.1ก(4) และ 5.1ก(3), และในหมายเหตุหลายแห่ง, รวมทั้งในอภิธานศัพท์.

หมวด 3 ลูกค้า (Customers)

  • แนวคิดที่เชื่อมโยงเรื่อง “เสียงของลูกค้า” ปรากฏในหลายหัวข้อ ได้แก่ 1, 3.2, และ 6.1 ในการรับฟังลูกค้า, การระบุข้อกำหนดของลูกค้า, การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ฯลฯ.
  • 2ข. ประเด็นพิจารณาเรื่อง ความพึงพอใจ, ความไม่พึงพอใจ, และความผูกพันของลูกค้า ได้ถูกปรับให้กระชับเพื่อความชัดเจน. แนวคิดเรื่องประสบการณ์ของลูกค้าได้ถูกอ้างอิงเพื่อครอบคลุมหัวข้อ 3.2 ทั้งหมด.

หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ (Measurement, Analysis, and Knowledge Management)

  • ความคล่องตัวในการวัดผล (measurement agility) ถูกย้ายไปอยู่ 1ก.(1) เพื่อให้สอดรับกับคำถามอื่น ๆ, และผลการดำเนินการและการคาดการณ์ผลการดำเนินการถูกรวมไว้ด้วยกันใน 4.1ข. การปรับแก้นี้ทำให้การคาดการณ์ผลการดำเนินการกลายเป็น “คำถามย่อย” (multiple question) จากเดิมที่เป็น “คำถามโดยรวม” (overall question) และสอดคล้องไปแนวทางเดียวกันกับแนวทางการให้คะแนนหมวดผลลัพธ์ (Results Scoring Guidelines) ซึ่งกล่าวถึงการคาดการณ์ผลการดำเนินการในช่วงคะแนน 70–85% และ 90–100%.
  • จากข้อมูลป้อนกลับจากผู้ใช้งาน, ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity) ถูกย้ายจากหมวด 6 ไปอยู่หมวด 4 เพื่อรวมไว้กับการจัดการสารสนเทศและองค์ความรู้. เนื้อหาเกณฑ์ยังคงสื่อว่าความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นประเด็นสำคัญเชิงกลยุทธ์ที่ต้องดำเนินการทั่วทั้งองค์กร.
  • หัวข้อ 2ค. การแสวงหาการสร้างนวัตกรรม (pursuit of innovation) แนวคิดนี้ถูกย้ายจากหมวด 6 เป็นหมวด 4 เพื่อพยายามลดความสับสนว่าจะตอบคำถามเรื่องการสร้างนวัตกรรม (innovation) ในเกณฑ์หมวดใด. หัวข้อ 4.2ค. ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อระบุถึงความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมต่อองค์กรโดยรวม และความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างนวัตกรรมกับระบบการจัดการความรู้ขององค์กร.

หมวด 5 บุคลากร (Workforce)

  • ความไม่พึงพอใจของบุคลากร ได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาต้นเหตุของปัญหา และทำให้เกิดการแก้ไขอย่างเป็นระบบเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่พึงพอใจในอนาคต.
  • ประสิทธิผลของระบบการเรียนรู้และพัฒนา (เดิม 2ค.(3)) ถูกผนวกอยู่ในปัจจัย “การเรียนรู้” (Learning) ในระบบการให้คะแนนของเกณฑ์ และใน 5.2ค.(2), และรายงานผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลของระบบการเรียนรู้และพัฒนาในหมวด 7.
  • ค่าตอบแทน (compensation) ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นอย่างชัดเจนในเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับบุคลากร และรวมถึงการพิจารณาด้วยความเป็นธรรม.

หมวด 6 การปฏิบัติการ (Operations)

  • หัวข้อ 1 ประเด็นพิจารณา 6.1ก. และ 6.1ข. ได้ถูกปรับให้กระชับชัดเจนเพื่อมุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์และหรือ/บริการ และกระบวนการเป็นลำดับแรก, จากนั้นจึงเป็นการจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ.
  • หัวข้อ 1 คำถาม 6.1ก.(2) และ 6.1ก.(4) ได้รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการลดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ทั้งจากผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการ และการปฏิบัติการ.
  • การจัดการเครือข่ายอุปทาน ถูกย้ายจากหัวข้อ 1 ไปอยู่ในหัวข้อ 6.2 ภายใต้ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ. หมายเหตุ 6.2ข. อธิบายว่าทำไมเกณฑ์จึงใช้คำว่า “เครือข่ายอุปทาน” แทน “ห่วงโซ่อุปทาน”, ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนถึงแนวทางที่มีความสามารถในการฟื้นตัวมากขึ้น ในการจัดการผู้ส่งมอบ.
  • เพิ่มตัวอย่างและหมายเหตุเรื่องการลดความสูญเสีย (waste) ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการขององค์กร, ซึ่งสะท้อนถึงการมุ่งเน้นเรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)
  • 6.2ค.(2) เพิ่มประเด็นพิจารณาเรื่องแนวทางโดยรวมขององค์กรในการบริหารความเสี่ยง.

หมวด 7 ผลลัพธ์ (Results)

  • หัวข้อ 2 เพิ่มผลลัพธ์ด้านประสบการณ์ของลูกค้า.
  • หัวข้อ 3 เพิ่มผลลัพธ์ด้านความไม่พึงพอใจและการรักษาบุคลากรไว้.
  • หัวข้อ 4 เพิ่มผลลัพธ์ของการที่ผู้นำระดับสูงปลูกฝังวัฒนธรรมที่ให้คุณค่ากับความหลากหลาย และส่งเสริมความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วม, การสร้างนวัตกรรม, และการประเมินโอกาสคุ้มเสี่ยง.
  • หัวข้อ 5 เพิ่มผลลัพธ์ของตัววัดหรือตัวชี้วัดสำคัญของการมุ่งมั่นด้านการสร้างนวัตกรรม.

ระบบการให้คะแนน (Scoring System)

        ค่าน้ำหนักคะแนนบางหัวข้อมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความสมดุล:

  • หมวด 4 : ย้าย 5 คะแนน จากหัวข้อ 1 ไปยังหัวข้อ 4.2 เพื่อให้สัมพันธ์กับแนวคิดการแสวงหาการสร้างนวัตกรรม (pursuit of innovation) ที่ถูกย้ายมาจากหมวด 6.
  • หมวด 6 : ย้าย 5 คะแนน จากหัวข้อ 1 ไปยังหัวข้อ 6.2 เนื่องจากหัวข้อ 6.2 มีจุดมุ่งเน้นสำคัญที่การจัดการเครือข่ายอุปทาน ที่ถูกย้ายมาจาก 6.1ค. และเพิ่มเรื่องการบริหารความเสี่ยง.
  • หมวด 7 : ย้าย 10 คะแนน จากหัวข้อ 1 ไปเพิ่ม 5 คะแนนให้แก่หัวข้อ 7.2 เพื่อสะท้อนความสำคัญของผลลัพธ์ด้านลูกค้า และเพิ่ม 5 คะแนนในหัวข้อ 7.5 เพื่อมุ่งเน้นความสำคัญของผลลัพธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและผลลัพธ์ด้านการสร้างนวัตกรรม.

ค่านิยม (Core Values)

  • แนวคิด “ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า” ให้พิจารณาถึงการลดความไม่พึงพอใจ รวมถึงข้อร้องเรียนของลูกค้าด้วย.
  • แนวคิด “การให้ความสำคัญกับบุคลากร” ครอบคลุมถึงการปฏิบัติอย่างธรรมต่อลูกค้าและบุคลากรทั้งหมด.
  • แนวคิด “การมุ่งเน้นความสำเร็จและการสร้างนวัตกรรม” ครอบคลุมถึงการมุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและความเป็นผู้นำด้านผลการดำเนินการ ซึ่งอาจนำไปสู่การพลิกโฉมธุรกิจ (business transformation).

อภิธานศัพท์ (Glossary of Key Terms)

  • เพิ่มคำนิยาม “ความคล่องตัว”, “วัฒนธรรม”, และ “ระบบ
  • คำว่า “การสร้างนวัตกรรม (innovation) และ “นวัตกรรม” (innovations) ถูกแจกแจงให้ชัดเจน; เพื่อความคงเส้นคงวา, เกณฑ์ใช้คำว่า “การสร้างนวัตกรรม” (innovation) สำหรับกระบวนการ/กิจกรรม และ “นวัตกรรม” (innovations) สำหรับผลสัมฤทธิ์ (outcome) (การปรับปรุงที่ฉีกแนว หรือ “ก้าวกระโดด” ในผลลัพธ์, ผลิตภัณฑ์, กระบวนการ, หรือความผาสุกของสังคม). การสร้างนวัตกรรมอยู่ในคำถาม 1ก.(3) โดยเป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งเน้นโอกาสเชิงกลยุทธ์. การแสวงหาการสร้างนวัตกรรม และ การจัดการนวัตกรรม รวมอยู่ใน 4.2ค.
  • คำศัพท์บางคำไม่อยู่ในอภิธานศัพท์โดยเจตนาด้วย 2 เหตุผล : (1) คำจำกัดความในอภิธานศัพท์มีไว้สำหรับคำที่ในเกณฑ์นี้อาจใช้แตกต่างไปจากความเข้าใจโดยทั่วไป; และ (2) คำจำกัดความของคำศัพท์ที่อาจมีความอ่อนไหวต่อความเห็นที่แตกต่างอาจถูกอธิบายไว้ในหมายเหตุ (แทนที่จะเป็นในอภิธานศัพท์) เพื่อให้บริบทและการใช้คำเหล่านั้นมีความชัดเจน.

ความคล่องตัว, ความสามารถในการฟื้นตัว, และการพลิกโฉม (Agility, resilience, and transformation)

แนวคิดเรื่องความคล่องตัวช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินหรือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น, ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น, และ/หรือตอบสนองต่อความท้าทายเชิงกลยุทธ์. ในเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ, ความคล่องตัวเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อความสำเร็จโดยผู้นำระดับสูง, การจัดทำกลยุทธ์, การจัดรูปแบบการทำงานและบริหารบุคลากร, การออกแบบผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการ, และการจัดการเครือข่ายอุปทาน. ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังของความคล่องตัว, ความสามารถในการฟื้นตัว จะปรากฏอยู่ในตลอดทั้งเล่มเกณฑ์เพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจและเตรียมพร้อมต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของบุคลากร, ลูกค้า, และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น. ในปัจจุบัน ความสามารถในการฟื้นตัว มักหมายถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการพลิกโฉมทางธุรกิจ – เพื่อให้สามารถและพร้อมที่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อทั้งโอกาสและภัยคุกคาม;  เพื่อปรับกลยุทธ์, แผนปฏิบัติการ, แผนด้านบุคลากร, และกระบวนการต่าง ๆ เมื่อจำเป็น;  และเพื่อให้มีระบบการกำกับดูแลที่แข็งแกร่งด้วยวัฒนธรรมองค์กรแห่งความไว้วางใจ.

การรักษาบุคลากรไว้ (Workforce retention)

เนื่องจากลักษณะงาน (และสถานที่ทำงาน) มีการเปลี่ยนแปลงในบางอุตสาหกรรม, การทำความเข้าใจ/ยกระดับปัจจัยการขับเคลื่อนความผูกพันของบุคลากรที่นำไปสู่การรักษาบุคลากรไว้จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง. การทำงานจากที่บ้าน/การทำงานแบบทางไกล, พนักงานชั่วคราว, และการจัดการสถานที่ทำงานแบบผสมผสาน (hybrid) เหล่านี้เป็นตัวอย่างของปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรม, การสื่อสาร, การออกแบบกระบวนการ, กลยุทธ์, และอื่น ๆ ขององค์กร. สุขภาพ, ความปลอดภัย, งานที่ดี/คุณภาพของงาน, และการรักษาพนักงานไว้ เป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างที่สำคัญยิ่ง, และ มหกรรมการลาออก (The Great Resignation) ในช่วงต้นทศวรรษ 2020 ยังคงเป็นแนวโน้มทางเศรษฐกิจประการหนึ่ง. ในเกณฑ์หมวด 5 บุคลากร, จะพบคำถามเกี่ยวกับจุดมุ่งเน้นใหม่ในเรื่องความผูกพันของบุคลากรและการรักษาบุคลากรไว้; ตัวอย่างเช่น องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันกับบุคลากรเพื่อรักษาบุคลากรไว้และให้มีผลการดำเนินการที่ดี, องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการประเมินความผูกพันและการรักษาบุคลากรไว้, และการรักษาบุคลากรไว้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างไร. นอกจากนี้, ยังมีการเพิ่มหมายเหตุในหมวดการนำองค์กร, กลยุทธ์, และผลลัพธ์ เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรพิจารณาความต้องการและข้อกำหนดของบุคลากร.

การสร้างนวัตกรรม (Innovation)

การแสวงหาการสร้างนวัตกรรม (Pursuit of innovation) – การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงกระบวนการ, ผลิตภัณฑ์, องค์กร, หรือความผาสุกของสังคม เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – ได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นในเกณฑ์หัวข้อต่าง ๆ, โดยอยู่ในประเด็นพิจารณาของหมวด 4. โอกาสในการสร้างนวัตกรรม แสดงไว้อย่างเด่นชัดในโครงร่างองค์กรและเชื่อมโยงกับเครือข่ายอุปทาน. เกณฑ์ถามว่าผู้นำระดับสูงมีวิธีการอย่างไรในการปลูกฝังการสร้างนวัตกรรม ในคำถามการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อความสำเร็จ และการทำให้เกิดการมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ, และการสร้างนวัตกรรมรวมอยู่ในการวางแผนกลยุทธ์ และในการสนับสนุนบุคลากรให้ดำเนินการกับโอกาสคุ้มเสี่ยง. เกณฑ์ยังถามถึงวิธีที่องค์กรพิจารณาและหนุนเสริมโอกาสคุ้มเสี่ยง ซึ่งอาจกระตุ้น, ส่งเสริม,  หรือทำให้เกิดนวัตกรรม, ตลอดจนวิธีที่องค์กรระบุโอกาสเชิงกลยุทธ์สำหรับผลิตภัณฑ์, บริการ, กระบวนการ, รูปแบบธุรกิจใหม่หรือที่เปลี่ยนแปลงไป (รวมถึงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์), หรือตลาด ซึ่งอาจกลายเป็นโอกาสคุ้มเสี่ยงที่จะแสวงหา. โอกาสเชิงกลยุทธ์, โอกาสคุ้มเสี่ยง, และนวัตกรรมดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่มุ่งผลการดำเนินการที่เป็นเลิศ.

ความหลากหลาย, ความเท่าเทียม, การมีส่วนร่วม, และความสามารถในการเข้าถึง (Diversity, equity, inclusion, and accessibility).

องค์กรที่ประสบความสำเร็จใช้ประโยชน์จากภูมิหลังและลักษณะเฉพาะ (characteristics) ที่หลากหลาย, ความรู้, ทักษะ, ความคิดสร้างสรรค์, และแรงจูงใจของบุคลากร; และองค์กรส่งเสริมความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมสำหรับทุกคน. การส่งเสริมความเท่าเทียม หมายถึง การสนับสนุนการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อลูกค้า, บุคลากร, และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญอื่น ๆ ทั้งหมดขององค์กร. การมีส่วนร่วม หมายถึง การทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และสนับสนุนให้พวกเขารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและการให้อำนาจในการตัดสินใจ. ผลสัมฤทธิ์ที่ได้สามารถปรับปรุงความผูกพันของบุคลากร รวมถึงปรับปรุงความผูกพันของลูกค้า, ความภักดี, และภาพลักษณ์ของตราสินค้า. เกณฑ์ถามว่าองค์กรพิจารณาผลกระทบต่อกลุ่มบุคลากรที่แตกต่างกันอย่างไร โดยคำนึงถึงความหลากหลายและการมีส่วนร่วม, องค์กรทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่าบุคลากรเป็นตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของชุมชนของบุคลากรที่องค์กรจ้างและชุมชนของลูกค้า, องค์กรมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบสิทธิประโยชน์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรที่หลากหลาย, และระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของผู้นำองค์กรและบุคลากรส่งเสริมความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมอย่างไร. เกณฑ์พิจารณาว่าความสามารถในการเข้าถึงเป็นองค์ประกอบของบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมขององค์กร; ในขณะที่ความหลากหลาย, ความเท่าเทียม, และการมีส่วนร่วมเป็นการปฏิบัติต่อผู้คน.

ความสามารถในการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทาน (Supply-chain resilience)

ความคล่องตัวและความสามารถในการฟื้นตัวขององค์กรมีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ; เครือข่ายอุปทานที่มีประสิทธิภาพช่วยยกระดับทั้ง 2 ประเด็น. เครือข่ายอุปทาน (Supply-network) ขององค์กร ประกอบด้วยหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องในการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการ และการเสนอบริการสนับสนุนหลังการขายให้กับลูกค้า. สำหรับบางองค์กร หน่วยงานเหล่านี้จะเชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่, โดยที่หน่วยงานหนึ่งเป็นผู้จัดหาให้อีกหน่วยงานหนึ่งโดยตรง. คำว่า “เครือข่ายอุปทาน” แสดงถึงวิวัฒนาการและพัฒนาการ (maturity) ของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยทำให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของแหล่งสารสนเทศ, วัสดุ, ผลิตภัณฑ์, และบริการ, ยกระดับความคล่องตัว, ความสามารถในการฟื้นตัว, และการสร้างมูลค่า. การมุ่งเน้นที่การจัดการเครือข่ายอุปทานดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับผลการดำเนินการขององค์กร, สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์, และยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. ในเกณฑ์หมวด 6 การจัดการเครือข่ายอุปทานเป็นประเด็นพิจารณาภายใต้ประสิทธิภาพของการปฏิบัติการ. เกณฑ์ให้ความสำคัญกับผู้ส่งมอบเพื่อส่งเสริมความสอดคล้องและความร่วมมือ, บรรเทาความเสี่ยงและทำให้มั่นใจถึงความคล่องตัวและความสามารถในการฟื้นตัว, การวัดและการประเมินผลการดำเนินการ, บังคับและส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม, ยกระดับกลยุทธ์, และทำให้มั่นใจถึงบทบาทและความรับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์.

การสร้างประโยชน์ให้สังคม, ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม, และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Societal contributions, environmental sustainability, and the circular economy).

จากแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่กำหนดไว้เป็นข้อบังคับได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง, องค์กรที่มีผลการดำเนินการที่ดีมองว่าการสร้างประโยชน์ให้สังคมเป็นมากกว่าสิ่งที่องค์กรถูกบังคับให้ต้องทำ: สิ่งนี้สามารถเป็นปัจจัยขับเคลื่อนความผูกพันของลูกค้าและบุคลากร และเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างในตลาด. เกณฑ์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมผ่านมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG), และมุ่งเน้นไปที่การผสานผลประโยชน์ของสังคมเข้ากับกลยุทธ์และการปฏิบัติการขององค์กร, รวมถึงการมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อม, การช่วยเหลือระบบสังคมและระบบเศรษฐกิจรอบองค์กร, และสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่สำคัญ. นอกจากนี้ เกณฑ์ยังให้ความสำคัญกับการจัดการข้อกังวลของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และบริการ และขยายขอบเขตไปไกลกว่าการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการดูแลสิ่งแวดล้อมกลายเป็นข้อกำหนดของลูกค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป็นแหล่งข้อมูลแนวคิดสำหรับองค์กรในการมุ่งเน้นการสร้างความผาสุกของสังคม.

เศรษฐกิจดิจิทัลและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (The digital economy and the fourth industrial revolution).

กระบวนการแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัล (Digitization) และการวิเคราะห์ข้อมูล, Internet of Things, ปัญญาประดิษฐ์, การปฏิบัติการบนคลาวด์, การสร้างแบบจำลองธุรกิจและกระบวนการที่ใช้ชุดข้อมูลขนาดใหญ่, การยกระดับระบบอัตโนมัติ, และเทคโนโลยี “อัจฉริยะ” อื่น ๆ กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก. เกณฑ์ถามว่าผู้นำองค์กรพิจารณาถึงความจำเป็นด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างไร, การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรพิจารณาเทคโนโลยีที่เกิดใหม่อย่างไร, องค์กรเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างไร, และองค์กรจะนำเทคโนโลยีใหม่เข้าสู่องค์กรอย่างไร. นอกจากนี้ เกณฑ์ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นสำหรับความคล่องตัวเมื่อการอุบัติใหม่ของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดภาวะชะงักงัน, การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเว็บ (web-based) ในกระบวนการของลูกค้า, และการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินการและการจัดการความรู้.

ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity).

สำหรับธุรกิจและองค์กรทุกประเภท, การจัดการและลดความเสี่ยงทางไซเบอร์ต่อข้อมูล,  สารสนเทศ, และระบบปฏิบัติการและระบบอื่น ๆ กลายเป็นสิ่งจำเป็น. เกณฑ์ได้รวมเอาหลักการจาก NIST’s Framework for Improving Critical Infrastructure Cybersecurity, ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ปัจจัยขับเคลื่อนทางธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางในกิจกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการพิจารณาความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง. เกณฑ์ได้เน้นย้ำถึงความตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยและภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่อุบัติใหม่; บทบาทของบุคลากร, ลูกค้า, พันธมิตร, และผู้ส่งมอบ ในด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์; ความสำคัญของการระบุและจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงปลอดภัย; และความจำเป็นในการป้องกัน,  การตรวจจับ, การตอบสนอง, และการฟื้นฟู.