แนวทางการให้คะแนน

แนวทางการให้คะแนน

คะแนน

กระบวนการ (หมวด 1-6)

0% หรือ 5%

  • ไม่ปรากฎหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบ ที่ตอบคำถามของหัวข้ออย่างชัดเจน; มีสารสนเทศน้อย/ไม่ชัดเจน/ไม่ตรงประเด็น. (A)
  • แทบไม่ปรากฏหลักฐานการนำแนวทางที่เป็นระบบไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ. (D)
  • ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางการปรับปรุง (improvement orientation); มีเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า. (L)
  • ไม่ปรากฏว่ามีความสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันในระดับองค์กร; แต่ละพื้นที่หรือหน่วยงานดำเนินการอย่างเอกเทศ. (I)

10%, 15%, 20% หรือ 25%

  • ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบ ที่ตอบคำถามพื้นฐานของหัวข้อ. (A)
  • การนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นในเกือบทุกพื้นที่หรือหน่วยงาน, ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับคำถามพื้นฐานของหัวข้อ. (D)
  • ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามาเป็นแนวคิดการปรับปรุงทั่วไป. (L)
  • มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับพื้นที่หรือหน่วยงานอื่นโดยส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมกันแก้ปัญหา. (I)

30%, 35%, 40% หรือ 45%

  • ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบ, มีประสิทธิผล ที่ตอบคำถามพื้นฐานของหัวข้อ. (A)
  • มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ถึงแม้ว่าบางพื้นที่หรือบางหน่วยงานเพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ. (D)
  • ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มมีแนวทางอย่างเป็นระบบในการประเมินและปรับปรุงกระบวนการที่สำคัญ. (L)
  • เริ่มมีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กร ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการ (I)

50%, 55%, 60% หรือ 65%

  • ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบ, มีประสิทธิผล ที่ตอบคำถามโดยรวมของหัวข้อ. (A)
  • มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าอาจแตกต่างกันในบางพื้นที่หรือบางหน่วยงาน. (D)
  • มีการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ, โดยใช้ข้อมูลจริง; การแบ่งปันการปรับปรุง/ปรับแต่งให้ดีขึ้น (refinement); และการนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศมาใช้บ้าง หรือตัวอย่างของการสร้างนวัตกรรม เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการที่สำคัญ. (L)
  • มีแนวทางที่สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกันกับความต้องการขององค์กร ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการ. (I)

70%, 75%, 80% หรือ 85%

  • ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบ, มีประสิทธิผล ที่ตอบคำถามย่อยของหัวข้อ. (A)
  • มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติเป็นอย่างดี, โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ. (D)
  • ปรากฎหลักฐานการประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ, โดยใช้ข้อมูลจริง; การแบ่งปันการปรับปรุง/ปรับแต่งให้ดีขึ้น (refinement); การนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศมาประยุกต์ใช้; และตัวอย่างของการสร้างนวัตกรรม เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร. (L)
  • มีแนวทางที่บูรณาการกับความต้องการขององค์กรในปัจจุบันและอนาคต ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการ. (I)

90%, 95% หรือ 100%

  • ปรากฏหลักฐานว่ามีแนวทางอย่างเป็นระบบ, มีประสิทธิผล ที่ตอบคำถามย่อยของหัวข้ออย่างครบถ้วน. (A)
  • มีการนำแนวทางไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติอย่างทั่วถึงโดยไม่มีจุดอ่อนหรือความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในพื้นที่หรือหน่วยงานใด ๆ. (D)
  • การประเมินและปรับปรุงอย่างเป็นระบบ, โดยใช้ข้อมูลจริง; การแบ่งปันการปรับปรุง/ปรับแต่งให้ดีขึ้น (refinement); การนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศมาประยุกต์ใช้; และการสร้างนวัตกรรม เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ทั่วทั้งองค์กร เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล. (L)
  • มีแนวทางที่บูรณาการกับความต้องการขององค์กรในปัจจุบันและอนาคตเป็นอย่างดี ตามที่ระบุไว้ในโครงร่างองค์กรและในหัวข้อกระบวนการ. (I)

 

คะแนน

ผลลัพธ์ (หมวด 7)

0% หรือ 5%

  • ไม่มีการรายงานผลการดําเนินการขององค์กร, หรือรายงานผลลัพธ์ที่มีระดับไม่ดี. (Le)
  • ไม่แสดงแนวโน้มของข้อมูล หรือแสดงแนวโน้มเชิงลบเป็นส่วนใหญ่. (T)
  • ไม่มีการรายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ (C)
  • ไม่มีการรายงานผลลัพธ์ในเรื่องที่สำคัญ ที่มีผลต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (I)

10%, 15%, 20% หรือ 25%

  • มีการรายงานผลการดําเนินการขององค์กรเพียงบางเรื่อง ที่ตอบคําถามพื้นฐานของหัวข้อ และเริ่มมีระดับผลการดำเนินการที่ดี. (Le)
  • มีการรายงานแนวโน้มของข้อมูลในบางเรื่อง, โดยบางเรื่องปรากฏแนวโน้มเชิงลบ (T)
  • แทบไม่มีการรายงานสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ. (C)
  • มีการรายงานผลลัพธ์เพียงบางเรื่องที่สำคัญ ที่มีผลต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (I)

30%, 35%, 40% หรือ 45%

  • มีการรายงานระดับผลการดําเนินการขององค์กรที่ดี ที่ตอบคําถามพื้นฐานของหัวข้อ. (Le)
  • มีการรายงานแนวโน้มของข้อมูลบางเรื่อง และแนวโน้มส่วนใหญ่ที่แสดงนั้นมีแนวโน้มที่ดี (T)
  • เริ่มปรากฎสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ (C)
  • มีการรายงานผลลัพธ์หลายเรื่องที่สำคัญที่มีผลต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร (I)

50%, 55%, 60% หรือ 65%

  • มีการรายงานระดับผลการดําเนินการขององค์กรที่ดี ที่ตอบคําถามโดยรวมของหัวข้อ. (Le)
  • ปรากฏแนวโน้มที่ดีในเรื่องที่สำคัญที่มีผลต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร (T)
  • มีการประเมินเปรียบเทียบระดับผลการดำเนินการในปัจจุบันบางเรื่องกับคู่เทียบและ/หรือระดับเทียบเคียงที่เกี่ยวข้อง และแสดงผลการดำเนินการที่ดีกว่า. (C)
  • มีการรายงานผลการดําเนินการขององค์กรที่ตอบข้อกำหนดที่สำคัญส่วนใหญ่ ของลูกค้า, ของบุคลากร, ของตลาด, และของกระบวนการ. (I)

70%, 75%, 80% หรือ 85%

  • มีการรายงานระดับผลการดําเนินการขององค์กรที่ดีถึงดีเลิศ ที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้อ. (Le)
  • มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องในเรื่องที่สำคัญส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (T)
  • มีการประเมินเปรียบเทียบแนวโน้มและระดับผลการดําเนินการหลายเรื่องถึงส่วนใหญ่กับคู่เทียบและ/หรือ ระดับเทียบเคียงที่เกี่ยวข้อง และแสดงผลการดำเนินการที่ดีกว่า. (C)
  • มีการรายงานผลการดําเนินการขององค์กรที่ตอบข้อกำหนดที่สำคัญส่วนใหญ่ ของลูกค้า, ของบุคลากร, ของตลาด, ของกระบวนการ, และของแผนปฏิบัติการ. (I)

90%, 95% หรือ 100%

  • มีการรายงานระดับผลการดําเนินการขององค์กรที่ดีเลิศ ที่ตอบคําถามย่อยของหัวข้ออย่างครบถ้วน. (Le)
  • มีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องในทุกเรื่องที่สำคัญที่มีผลต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กร. (T)
  • แสดงถึงความเป็นผู้นําทั้งในธุรกิจและเป็นผู้นําสำหรับการเทียบเคียงในหลายด้าน (C)
  • มีการรายงานผลการดําเนินการและการคาดการณ์ผลการดําเนินการขององค์กรที่ตอบข้อกำหนดที่สำคัญส่วนใหญ่ ของลูกค้า, ของบุคลากร, ของตลาด, ของกระบวนการ, และของแผนปฏิบัติการ. (I)